วันศุกร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กรมปศุสัตว์ขอเชิญร่วมบริจาคเงินเพื่อไถ่ชีวิตโค-กระบือเฉลิมพระเกียรติในหลวง(23/2553)

นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่ากรมปศุสัตว์ได้จัดทำโครงการพิธีสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯและไถ่ชีวิตโค- กระบือ จำนวน 299 ตัว มอบให้เกษตรกร ตามโครงการธนาคารโค - กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริถวายเป็น พระราชกุศล เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2552เพื่อเป็นการสำนึกใน พระมหากรุณาธิคุณพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯที่พระราชทานโครงการที่มีคุณประโยชน์อย่างมหาศาลแด่ปวงชนชาวไทยโดยกำหนดจัดพิธีในวันพุธที่ 9ธันวาคม 2552 ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
ดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงขอเชิญผู้ที่มีความประสงค์จะร่วมบริจาคเงินเพื่อสมทบเข้าโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริถวายเป็นพระราชกุศลเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2552 โดยสามารถโอนเงินเข้าบัญชี“โครงการธนาคารโค - กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ” ธนาคารกรุงไทย (จำกัด) สาขาราชเทวีกรุงเทพมหานคร บัญชีกระแสรายวัน เลขที่ 030 – 6 – 01239 - 1 ในระหว่างวันที่ 1 - 8 ธันวาคม2552 นี้
รายละเอียดและประวัติโครงการธนาคารโคกระบือตามพระราชดำริ

วันเสาร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

หนทางสู่ความพอเพียงในอนาคต...

เมื่อการเงินคือความมั่นคงในชีวิต 7 วิธีดังต่อไปนี้ ก็จะเป็นหนทางสู่ความพอเพียงในอนาคต...

1. มีน้อยใช้น้อย มีมากก็ใช้น้อย

วิธีเบสิกที่สุดและได้ผลมากที่สุดเช่นกันเมื่อคุณหาได้เงินได้เท่าไร คุณต้องใช้ให้น้อยกว่าที่หามาได้ ไม่อย่างนั้นอาจจะมีอาการตึงเครียดในทุกช่วงปลายเดือน หรือไม่ก็สร้างหนี้ที่คุณก็รู้อยู่แล้วว่า ไม่สามารถหามาจ่ายทันได้

2. เก็บเงินให้ได้ 10% ของรายได้

คุณควรเก็บเงิน 10 % นี้ไว้เป็นกองทุนสำหรับบำนาญ โดยให้หักก่อนที่คุณจะจ่ายบิลทุกใบ ถือว่าเป็นเงินออมขั้นที่น้อยที่สุด หากคุณไม่มีเงินเก็บออมเลย ก็ควรเริ่มต้นให้เร็วที่สุดด้วย และเก็บให้มากขึ้นทุกๆ ปี

3. อัพเดตการเงิน

หากคุณซื้อหน่วยลงทุนเล่นหุ้นหรือว่ามีทรัพย์สินอื่นๆเช่น​ทองคำ ที่ดินคุณจะต้องอัพเดตบัญชีหรือดูแลทรัพย์สินเหล่านั้นอยู่เสมอ เพื่อจะได้ดูดอกเบี้ยหรือความเปลี่ยนแปลงของทรัพย์สินนั้นๆ เช่น ที่ดินของเรามีใครเข้ามาบุกรุกบ้างหรือไม่ บัญชีกองทุนสามารถถอนคืนได้เมื่อไร หรือหนี้บ้านที่เรามีอยู่ชำระไปเท่าไรแล้ว

4. เก็บเงินฉุกเฉิน

เชื่อว่าคนยุคใหม่น้อยคนนักจะเก็บเงินสักก้อนหนึ่งเอาไว้ยามฉุกเฉิน ซึ่งจำนวนเงินควรจะมีประมาณ 3 เท่าของเงินเดือน เผื่อว่าคุณโดนเลิกจ้างกะทันหัน ค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ ซ่อมบ้านยามฉุกเฉิน เงินจำนวนนี้จะสามารถช่วยเหลือและทำให้คุณคลายกังวลได้ ดีกว่าจะเบิก
เงินเก็บออกมาใช้จ่ายโดยเสียดอกเบี้ยไปเปล่าประโยชน์

5. อย่าโดนค่าปรับบัตรเครดิต

บัตรเครดิตนั้นมีประโยชน์มากเมื่อเราต้องการใช้เงินฉุกเฉิน โดยเฉพาะยามเราไม่สามารถหาเงินสดตอนนั้นได้ทัน ก็ควรตระหนักข้อดีของมันมากกว่าจะทำให้มันกลายเป็นข้อเสีย เช่น ลืมจ่ายค่าบัตรตามบิลทำให้เกิดดอกเบี้ยทับถมมากมาย ปีใหม่ควรเริ่มมีวินัยได้แล้ว

6. ทำประกันคุ้มครอง

คิดให้รอบคอบว่ายังมีประกันใดอีกบ้างที่คุณยังไม่ได้ทำ เช่น ประกันสุขภาพ ประกันชีวิต ประกันทรัพย์สิน อัคคีภัย ฯลฯ คุณคิดดูให้ดีว่าการทำประกันนั้นเสียเงินไม่มากเท่าที่คิด แต่ว่าคุณจะได้รับความคุ้มครองมากมาย ลองดูความเสี่ยงในชีวิตคุณและเริ่มทำประกันตั้งแต่ต้นปีนี้

7. คิดแผนอนาคต

ถ้าคุณเช่าบ้านอยู่ ตอบคำถามในใจสิว่าคุณอยากมีบ้านเป็นของตัวเองมั้ย อยากมีรถ มีร้าน หรือสิ่งใดก็ตามที่คุณอยากทำ ให้เขียนลงสมุดบันทึกลำดับความสำคัญ และดูรายได้ว่าคุณจะจัดสรรไว้ที่ใดบ้าง เขียนเป็นรูปแบบอนาคตและกำหนดว่าคุณจะทำสำเร็จเมื่อไร เพื่อจะได้เป็นกำลังใจในการเก็บเงิน

เพียงเท่านี้ ความขัดสนก็จะไม่มาเยือน อีกทั้งยังมีความสุขตลอดปีแน่นอน